การทำงานในพื้นที่อับอากาศ

การทำงานในพื้นที่อับอากาศ

การทำงานในพื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศ หรือ Confined space คือ ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัด และ มีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย รวมทั้งไม่ได้ออกแบบไว้เป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถังไซโล ท่อ เตา ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน และตามนิยามกฎหมายความปลอดภัยที่อับอากาศยังรวมถึง บรรยากาศอันตรายซึ่งหมายถึง สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 โดยปริมาตร
(2) มีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable limit หรือ Lower Explosive Limit)
(3) มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำสุดของฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้แต่ละชนิด (Minimum Explosible Concentration)
(4) มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

ปฏิบัติอย่างไรเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
1. มีระบบการทำงานที่มีความปลอดภัย ดังนี้
- มีผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน หรือเจ้าของพื้นที่เข้าดูแลรับผิดชอบพื้นที่
- ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง ผู้ควบคุมงาน และผู้อนุญาต) ต้องผ่านการอบรมและมีความรู้ความสามารถในการทำงานในสถานที่อับอากาศ
- มีการตัดระบบการทำงานของเครื่องจักร กระแสไฟฟ้า และการป้อนวัสดุ
- ทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบเพื่อไม่มีสิ่งที่เป็นอันตราย ก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
- ทำการตรวจสอบและดำเนินการให้ช่องทางเข้าออก สะดวก ปลอดภัย
- มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสมก่อนเข้าทำงาน และตลอดระยะเวลาที่ทำงาน
- มีการตรวจวัดสภาพบรรยากาศสำหรับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
- เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะกับลักษณะงาน และแสงสว่างเพียงพอ
- มีการเลือกใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือ SCBA ที่เหมาะสม
- มีป้ายเตือนอันตรายและห้ามเข้า
2. มีการเตรียมการสำหรับเหตุฉุกเฉินให้พร้อมก่อนเริ่มการเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
- ตรวจสอบและเตรียมความพร้อมในการแจ้งกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
- จัดเตรียมเครื่องมือกู้ภัยและช่วยชีวิตที่พร้อมใช้งานได้อย่างทันสถานการณ์
- ทีมฉุกเฉินและทีมกู้ภัยมีสมรรถนะตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศได้ทันสถานการณ์
3. มีการจัดโปรแกรมการจัดการเพื่อความปลอดภัยในการเข้าทำงานในที่อับอากาศ
- ชี้บ่งอันตรายพื้นที่ที่ถือว่าเป็นที่อับอากาศ
- มีระบบการอนุญาตให้เข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
- จัดให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง (ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง ผู้ควบคุมงาน และผู้อนุญาต) และผู้ที่มีความรู้ความสามารถอบรมการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
- มีการวางแผน และทำการประเมินความเสี่ยงในการเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศแต่ละครั้ง
- มีขั้นตอนการปฏิบัติงานและขั้นตอนการตรวจวัดสภาพบรรยากาศอันตราย
- มีป้ายเตือนอันตราย
- มีระบบการป้องกันการเข้าในที่อับอากาศโดยพลการ
- จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์การช่วยชีวิต หรืออุปกรณ์พิเศษอื่นตามลักษณะการปฏิบัติงาน
- จัดให้มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสมก่อนเข้าทำงาน และตลอดระยะเวลาที่ทำงาน
- มีแผนกู้ภัยฉุกเฉินสำหรับลูกจ้างหรือผู้ประสบภัยในสถานที่อับอากาศ

ถังเก็บน้ำ หรือ บ่อเก็บน้ำ เป็นพื้นที่ที่อยู่ในเงื่อนไขว่าเป็นพื้นที่อับอากาศ ดังนั้น งานล้างถังเก็บน้ำ ถังพักน้ำ จึงต้องดำเนินการตามมาตรฐานการปลอดภัยตามที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดว่าด้วยการทำงานในพื้นที่อับอากาศ โดยพนักงานต้องได้รับการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากทางกระทรวงแรงงาน และมีใบรับรองการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง เพื่อให้งานออกมาได้ตามมาตรฐาน และ ปลอดภัย โดยต้องมีอุปกรณ์การทำงาน และ อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน มีแผนการช่วยเหลือ เพื่อความมั่นใจในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน

บริษัท เค-วิซ โซลูชั่น จึงเน้นย้ำการทำงานตามมาตรฐานความปลอดภัยดังกล่าว พนักงานที่เกี่ยวข้องได้รับการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง เพื่อให้ลูกค้าของเรา มีการออกแบบขั้นตอนการทำงานล้างถังเก็บน้ำให้ลูกค้าของเราได้รับบริการที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยทั้งตัวพนักงานล้างถังเก็บน้ำของเรา และ ปลอดภัยต่อบุคลากรและระบบอาคารของลูกค้า สนใจรับบริการล้างถังเก็บน้ำ ถังพักน้ำ สำหรับบ้านพักอาศัย อาคารสูง ติดต่อ HOTLINE 0814673826 หรือ อีเมลล์ [email protected]